Logo_roof_1Logo_roof_1Logo_roof_1Logo_roof_1
  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • Our Service
    • Features Projects
    • รับเหมามุงหลังคา
    • โครงหลังคา
    • หลังคาเหล็กสําเร็จรูป
    • แบบหลังคาไวนิล
    • โครงหลังคาสำเร็จรูป SuperDyma
    • โครงหลังคาสำเร็จรูปตราช้าง
  • การรับประกันคุณภาพ
    • ตัวอย่างผลงาน
    • รับติดตั้งหลังคาสำเร็จรูป
    • Mr.Roof จำหน่ายหลังคาทุกชนิด
    • วัสดุยูพีวีซี
    • อุปกรณ์ยึดแผ่นหลังคา
    • แผ่นสะท้อนความร้อน
      • หนังสือรับประกันการติดตั้ง
  • บทความเกี่บวกับหลังคา
    • การก่อสร้างหลังคา
    • ประเภทรางน้ำฝน
    • กระเบื้องหลังคาดินเผา
    • วัสดุมุงหลังคาในอดีต
    • โครงหลังคาสำเร็จรูปตราช้าง
    • ความลาดชันของหลังคา (roof pitch)
    • หลังคาโปร่งแสง
    • ประเภทของกระเบื้องหลังคา
    • กระเบื้องหลังคาซีกรีต
    • หลังคาประหยัดพลังงาน
    • การตรวจสอบโครงสร้างหลังคาก่อนติดตั้ง
    • การติดตั้งหลังคา
    • กระเบื้องคอนกรีต
    • ส่วนประกอบของหลังคาทรงลาด
    • หลังคาทรงลาด
    • หลังคาไม้ซีดาร์
    • หลังคาไม้เฌอร่า
    • หลังคาไม้เทียม
    • หลังคาโพลีคาร์บอเนต
    • หลังคาเหล็กเคลือบชิงคาลุม
    • วิธีการตรวจสอบหลังคาที่แตกร้าว
  • ติดต่อเรา

หลังคาโปร่งแสง

  • Home
  • บทความเกี่บวกับหลังคา
  • หลังคาโปร่งแสง
u0e1bu0e23u0e30u0e40u0e20u0e17u0e02u0e2du0e07u0e01u0e23u0e30u0e40u0e1au0e37u0e49u0e2du0e07u0e2bu0e25u0e31u0e07u0e04u0e32
ประเภทของกระเบื้องหลังคา
August 12, 2013
ความลาดชันของหลังคา (roof pitch)
November 12, 2013
Categories
Uncategorized
Tags
u0e2bu0e25u0e31u0e07u0e04u0e32u0e42u0e1bu0e23u0e48u0e07u0e41u0e2au0e07

หลังคาโปร่งแสง การนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในอาคาร นอกจากจะก่อให้เกิดความสง่าภายในห้องแล้ว  เรายังพบว่าแสงธรรมชาติมีผลต่อจิตใจและสุขภาพพลานามัยของผู้อยู่ภายในอาคาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากดวงโคมซึ่งเป็นแสงประดิษฐ์

 โดยทั่วไปเราออกแบบให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคารจากช่องหน้าต่างที่ผนัง และช่องแสงที่หลังคาหรือสกายไลท์

ประโยชน์ของหลังคาโปร่งแสง – หลังคาโปร่งแสงภายนอกอาคารช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่องของท้องฟ้าและพื้นดิน ลดแสงสะท้อนและบังฝน – การนำแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารโดยผ่านวัสดุมุงหลังคาที่เป็นแผ่นโปร่งแสงที่มีรูปลอนเช่นเดียวกับวัสดุมุงหลักของผืนหลังคา ทำให้น้ำฝนไม่รั่วซึม – การให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคาร 2 ทิศทาง จากผนังและหลังคา  จะช่วยลดแสงจ้าและช่วยปรับสมดุลของแสงธรรมชาติ แสงธรรมชิตมาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความแปรผันไปตามช่วงเวลาของวัน ตามฤดูกาล ตามสถานที่ตั้งและการกระจายของแสงในท้องฟ้า ซึ่งขึ้นกับเมฆหมอก หยาดน้ำในท้องฟ้า และการสะท้อนแสงของพื้นดินและสิ่งแวดล้อมอาคาร คุณภาพและปริมาณของแสงธรรมชาติที่เข้าสู่ที่ว่างภายในอาคาร ขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น การหันเหทิศทางของช่องหน้าต่างและช่องแสงบนหลังคา ขนาดของช่องหน้าต่างและช่องแสงที่หลังคา ค่าการส่งผ่านรังสีที่ตามองเห็นของกระจก ค่าการสะท้อนของพื้นผิวภายในห้องและการสะท้อนแสงของพื้นผิวภายนอกรอบอาคาร รวมทั้งกันสาดและต้นไม้ที่ขวางทางเดินของแสง การออกแบบแสงธรรมชาติภายในอาคารที่สดส่องมาจากหลังคาโดยตรง ควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุโปร่งแสงที่มีค่าการส่งผ่านความร้อนต่ำและมีค่าการส่งผ่านรังสีที่ตามองเห็นได้เหมาะสมตามความต้องการ มีความทนทานต่อรังสีแสงอาทิตย์สามารถมุงเข้ากับรูปลอนของวัสดุมุงหลักของผืนหลังคาได้อย่างกลมกลืน โดยปราศจากการรั่วซึมของน้ำฝนและความชื้น ความสว่างที่มากเกินไปทำให้เกิดแสงจ้ารบกวนสายตา  ดังนั้นจึงควรออกแบบให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ห้องได้อย่างน้อย 2 ทิศทาง เพื่อให้แสงสว่างภายในห้องมีความสมดุล เช่นให้แสงเข้ามาจากหน้าต่างที่ผนังสองด้านของห้องหรือให้แสงเข้ามาจากหลังคาและจากหน้าต่างที่ผนังอีกด้านหนึ่ง เป็นต้น

ค่าการส่งผ่านรังสีที่ตามองเห็น
คือ ปริมาณของแสงที่สามารถมองเห็นได้ที่ผ่านวัสดุโปร่งแสง เช่น กระจก ประตู หรือกันสาด โดยค่าการส่งผ่านรังสีที่ตามองเห็นเป็นส่วนหนึ่งของเสปคตรัมจากแสงอาทิตย์ที่สายตามนุษย์สามารถรู้สึกได้โดยค่า visible transmittance จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 รังสีอาทิตย์นำมาซึ่งแสงสว่างและการถ่ายเทความร้อน การปลูกต้นไม้รายล้อมช่วยลดแสงจ้าและอุณหภูมิแวดล้อมทำให้เกิดสภาวะสบาย ค่าสัมประสิทธิ์ความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient; SHGC) รังสีดวงอาทิตย์นอกจากจะนำแสงสว่างมาให้แล้วยังทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารอีกด้วย ค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผลรวมของรังสีอาทิตย์ที่ส่งผ่านกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงโดยตรงกับค่ารังสีอาทิตย์ที่ถูกดูดกลืนไว้ในตัวกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงเข้ามายังภายในอาคาร ในการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความร้อนแสงอาทิตย์ ให้ใช้ค่าจากผู้ผลิตกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงที่มีผลการทดสอบและวิธีการคำนวณที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในกรณีที่ไม่มีค่าดังกล่าว ให้ใช้ค่าในตารางด้านล่าง

ความหนาของกระจก

(มิลลิเมตร)

ชนิดของกระจก

visible

transmittance

SHGC

กระจกชั้นเดียว ไม่เคลือบผิว (uncoated single glazing)

6

6

6

6

6

กระจกใส กระจกสีบรอนซ์ กระจกสีเขียว กระจกสีเทา กระจกสีฟ้าอมเขียว 0.88 0.54 0.76 0.46 0.75 0.73 0.54 0.54 0.52 0.55
กระจกสะท้อนแสงชั้นเดียว (reflective single glazing)

6

 

 

6

 

 

6

กระจกใสเคลือบโลหะสเตนเลส 20% (Stainless steel reflective coating 20% on clear glass) กระจกใสเคลือบไทเทเนียม 20% (titanium reflective coating  20% on clear glass) กระจกใสเคลือบไทเทเนียม 30% (titanium reflective coating  30% on clear galss)

0.20

 

 

0.20

 

 

0.30

0.28

 

 

0.27

 

 

0.35

 

กระจกสองชั้น ไม่เคลือบผิว (uncoated double glazing)

6

6

6

6

6

6

กระจกใส – กระจกใส กระจกสีบรอนซ์ – กระจกใส กระจกสีเขียว – กระจกใส กระจกสีเทา – กระจกใส กระจกสีฟ้าอมเขียว – กระจกใส กระจกสีเขียวคุณภาพสูง-กระจกใส

0.78

0.47

0.68

0.41

0.67

0.59

0.60

0.41

0.41

0.39

0.43

0.33

กระจกสะท้อนแสงสองชั้น (reflective double glazing)

6

กระจกใสเคลือบไทเทเนียม 30% และกระจกใส

0.27

0.25

กระจกเคลือบสารที่มีสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีต่ำสองชั้น (Low-e double glazing, e = 0.2  on surface 2)

6

กระจก Low-e และกระจกใส

0.73

0.53

กระจก Low-e สองชั้น (Low double glazing), e= 0.1 on surface 2)

6

กระจก Low – e และกระจกใส

0.72

0.44

Share
84
admin
admin

Services

  • รับเหมามุงหลังคา
  • รับติดตั้งหลังคาสำเร็จรูป
  • จำหน่ายหลังคาทุกชนิด
  • ตัวอย่างผลงาน
  • ทีมงาน TOL (Touch of Living Co.,Ltd.)รับเหมามุงหลังคา

Company

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • บทความเกี่บวกับหลังคา

Newslettter


    © 2019 . All Rights Reserved. www.roof.in.th